โรงงานแอร์ ปลดพนักงานซัพคอนแทครวมพันกว่าคน กลางอากาศ

Variety

ในเพจ หนุ่มสาวโรงงาน โพสต์ข้อความระบุว่า โรงงานแอร์ ในนิคมอุตสาหกรรม อมตะซิตี้ ปลดพนักงาน”ซัพคอนแทค” รวมพันกว่าคน กลางอากาศ เซ่นพิษเศรษฐกิจและสถานการณ์ในปัจจุบันซ้ำ

ด้าน KKP Research ออกบทวิเคราะห์ในหัวข้อ จ้างงานไทยมืดจาก c๐vid  ระบุว่ามาตรการภาครัฐเพื่อควบคุมc๐vid ที่ประกาศใช้ทั้งมาตรการ Lockdown และการรณรงค์ด้าน Social Distancing มีผลกระทบโดยตรงต่อภาคธุรกิจและการจ้างงานสำหรับตลาดแรงงานไทยพบว่ากว่าครึ่งหนึ่งเป็นแรงงานที่อยู่นอกระบบ ซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการถูกเลิกจ้างสูงสุด และกว่า 70% ของการจ้างงานทั้งหมดเป็นการจ้างงานในธุรกิจ SME

ซึ่งมีความเปราะบางกว่าธุรกิจรายใหญ่KKP Research คาดว่าในกรณีที่สถานการณ์ ชะลอลงภายในสิ้นไตรมาส 2 แต่ยังมีมาตรการ Lockdown บางส่วนต่อเนื่องในไตรมาส 3 จะส่งผลให้มีการเลิกจ้างหรือถูกพักงานโดยไม่มีรายได้ เพิ่มสูงสุดถึง 4.4 ล้านคน ส่งผลให้การว่างงานเพิ่มสูงขึ้นเป็น 4.9 ล้านคน (13.2% ของแรงงานไทย) และยังมีความเสี่ยงต่อการเลิกจ้างเพิ่มขึ้นหากสถานการณ์ยืดเยื้อกว่าที่ประเมินไว้ รัฐควรมีมาตรการเชิงรุกเพื่อสนับสนุนให้ภาคธุรกิจรักษาการจ้างงาน เร่งลงทุนเพื่อสร้างงานใหม่ และเสริมทักษะแรงงานที่ถูกเลิกจ้าง เพื่อให้เศรษฐกิจกลับฟื้นขึ้นได้โดยเร็วเมื่อสถานการณ์ เริ่มคลี่คลาย

เพิ่มเติมจากมาตรการเชิงเยียวยาที่ทยอยออกมาก่อนหน้านี้ ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและการจ้างงานอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนผลกระทบทางเศรษฐกิจจากสถานการณ์c๐vid มีลักษณะเฉพาะ และแตกต่างจากสถานการณ์เศรษฐกิจอื่น ๆ ที่เคยมีมา เนื่องจากเป็นสถานการณ์ทางสุขภาวะที่กระทบโดยตรงต่อการดำรงชีวิตประจำวันเป็นปกติ กิจกรรมในภาคเศรษฐกิจจริงลดลงอย่างรุนแรง อีกทั้งการแพี่ที่เกิดขึ้นเป็นวงกว้างทั่วโลกส่งผลให้รัฐบาลหลายประเทศตัดสินใจปิดประเทศ และออกมาตรการให้ประชาชนอยู่บ้าน (lockdown) หรือรณรงค์ให้เว้นระยะห่างทางสังคม (social distancing)

กลายเป็นความเสี่ยงจากนโยบายที่กระทบโดยตรงต่อภาคธุรกิจ โดยเฉพาะในภาคบริการที่จำเป็นต้องมีการติดต่อพบปะกัน (physical presence) ในการดำเนินธุรกิจ (อ่านเพิ่มเติมใน KKP Insight “จากภั ย c๐vid สู่ความเสี่ ย งสถานการณ์รอบใหม่”)ทั้งนายจ้างและลูกจ้างจะได้รับผลกระทบอย่างหนักทั้งในแง่การประคับประคองกิจการ การว่างงานที่เพิ่มขึ้น และรายได้จากการทำงานที่ลดลงผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจอาจแจกแจงได้เป็น 4 ด้าน ได้แก่ (1) การถูกสั่งปิดกิจการชั่วคราวโดยอำนาจของเจ้าหน้าที่รัฐที่บัญญัติไว้ตามกฎหมาย (2) รายรับที่ลดลงอย่างมากจากมาตรการ lockdown

หรือการรณรงค์ให้มีระยะห่างทางสังคม (3) กระบวนการผลิตชะงักงันจากการรับมอบวัตถุดิบหรือส่งมอบสินค้าที่ไม่เพียงพอหรือไม่ทันการ (supply chain disruption) หรือ (4) ลูกค้าธุรกิจชะลอการชำระเงินค่าสินค้าและบริการ (trade credit) ซึ่งในแต่ละกรณีจะส่งผลต่อการตัดสินใจด้านการจ้างงานของนายจ้าง ทั้งในแง่จำนวนการจ้างงานหรือการปรับลดชั่วโมงทำงาน (ตารางที่ 1) เนื่องจากค่าจ้างถือเป็นต้นทุนในการดำเนินงาน (operating cost) หลักในหลายธุรกิจ ผลกระทบจากการลดการจ้างงานจะสูงที่สุดในกลุ่มลูกจ้างที่ไม่อยู่ในระบบประกันสังคม (มาตรา 33) เช่นเดียวกับผู้ประกอบอาชีพอิสระที่รายได้จะลดลงอย่างมากจากกำลังซื้อที่หดตัว

การจ้างงานมากกว่าครึ่งหนึ่งในตลาดแรงงานไทยเป็นการจ้างงานนอกระบบ ซึ่งรวมถึงการจ้างงานเกือบทั้งหมดในภาคเกษตร (24%) และแรงงานที่ไม่ได้ลงทะเบียนในระบบประกันสังคม (31%) (รูปที่ 1) และหากนับรวมแรงงานและผู้ประกอบอาชีพอิสระที่ประกันตนเองโดยสมัครใจในระบบประกันสังคมมาตรา 39 และ 40 ซึ่งไม่มีสิทธิได้รับสวัสดิการว่างงานแล้ว (10%) เท่ากับว่าในการจ้างงานทั้งหมดประมาณ 38 ล้านคน มีแรงงานถึงราว 2 ใน 3 ที่จะไม่ได้รับความคุ้มครองและค่าชดเชยใด ๆ ทั้งจากนายจ้างและระบบประกันสังคมในกรณีถูกเลิกจ้าง

แรงงานนอกระบบจึงเป็นกลุ่มที่เสี่ยงต่อการถูกเลิกจ้างฉับพลันสูงสุดในกรณีที่ภาคธุรกิจขาดสภาพคล่อง โดยเฉพาะในธุรกิจโรงแรม ร้านอาหาร บันเทิงและนันทนาการ ค้าปลีกและค้าส่ง ที่มีการจ้างงานนอกระบบสูงกว่าค่าเฉลี่ย (รูปที่ 2) และยังเป็นกลุ่มที่จะได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ สูงที่สุด ยิ่งไปกว่านั้น การจ้างงานกว่า 70% ในโครงสร้างแรงงานไทยเป็นการจ้างงานในธุรกิจขนาดกลางหรือขนาดย่อม หรือ SMEs ที่มักมีสถานะทางการเงินและทางเลือกในการระดมทุนจำกัดกว่าธุรกิจรายใหญ่ อีกทั้งการจ้างงาน SME มีความเข้มข้นสูงในภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากc๐vid (รูปที่ 3) จึงมีโอกาสจะได้รับผลกระทบในแง่การจ้างงานหรือรายได้สูง

ทั้งนี้ ประชาชนที่กำลังจะอดตายและหาทางออกไม่ได้จึงต้องหันหน้าไปพึ่งการกู้เงินผ่านธนาคาร ที่ยื่นมือเข้ามาช่วยแบบคิดดอกในราคาถูกเพื่อจูงมือผ่าสถานการณ์หลังจากที่ ธนาคารออมสิน เปิดให้ลงทะเบียน และยื่นกู้สินเชื่อฉุกเฉิน เพื่อช่วยผู้มีอาชีพอิสระ และผู้มีรายได้ประจํา ที่ได้รับผลกระทบจากc๐vidผ่าน www.gsb.or.th แล้วในวันที่ 15 เมษายน 2563 เป็นวันแรก ทำให้มีผู้สนใจเข้าเว็บไซต์ธนาคารจำนวนมากจนทำให้ระบบล่มตลอดทั้งวัน จนธนาคารออมสินต้องปิดลงทะเบียนเงินกู้เพื่อเป็นค่าใช้จ่าย ชั่วคราว โดยระบุข้อความว่า

“เนื่องจากมีลูกค้าและประชาชนให้ความสนใจลงทะเบียนเป็นจำนวนมากอย่างพร้อมเพรียงกัน ส่งผลให้ระบบเครือข่ายการสื่อสารของเว็บไซต์ธนาคารฯ และระบบลงทะเบียนเกิดความขัดข้อง ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพและทำการทดสอบระบบใหม่ จึงขอปิดระบบเพื่อปรับปรุง และจะเปิดให้ลงทะเบียนอีกครั้งในวันพรุ่งนี้ (16 เมษายน 2563) เวลา 8.00 น. เป็นต้นไป”

ขอบคุณ tnews